Search for:
ตราสัญญาลักษณประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

“ภาพโบสถ์”

หมายถึง ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมือง ตำนานเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปปาฏิหาริย์ ลอบทวนน้ำมาขึ้นที่จังหวัด ชาวเมืองเคารพนับถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้อักษรย่อว่า “ฉช”

คำขวัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา

“แม่น้ำบางประกงแหล่งชีวิต                 พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร

   พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย       อ่างฤาไนป่าสมบูรณ์”

ประวัติจังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือที่นิยมเรียกกันว่า “แปดริ้ว” นั้นมาจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมืองนี้เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ ในน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อน ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดมีชุกชุมและขนาดใหญ่เมื่อนำมาแล่เพื่อตากทำปลาแห้ง ต้องแล่ออกถึงแปดริ้ว เมืองนี้จึงเรียกว่า “แปดริ้ว” ตามขนาดของปลาช่อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมือง สำหรับชื่อ “ฉะเชิงเทรา” ในปัจจุบันเป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจเรียกชื่อแม่น้ำบางประกงว่า คลองลึก หรือ คลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น แต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงเรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า “สตึงเตรง” “ฉทึงเทรา” ซึ่งแปลว่าคลองลึก ครั้นเรียกกันนานๆ ต่อมาเสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น”ฉะเชิงเทรา” หรือ “แซงเซา”

ข้อสันนิษฐานการตั้งเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน หรือ เมืองจัตวา ในแผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – 2013) แต่สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยพระนเรศวร ที่ใช้เมืองฉะเชิงเทรา เป็นที่รวบรวมไพร่พล ด้วยชัยภูมิของเมืองที่เหมาะแก่การทำสงครามกองโจร ทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าป้องกันศัตรูเพื่อป้องกันเมืองหลวง จวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแผ่นดินใหม่ ฉะเชิงเทรา จึงมีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี จากนั้นในปี พ.ศ.2476 มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง สู่ 3 มิภาค จึงได้เปลี่ยนจากเมืองมาเป็นจังหวัด เรียกว่า จังหวัด “ฉะเชิงเทรา”

(อ้างอิง: คู่มือท่องเที่ยว ฉะเชิงเเทรา น. 6)

สภาพทางภูมิศาสตร์

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 5,370.28 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,344,375 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา ลิปดา ถึง 13 องศา 15 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 50 ลิปดา 102 องศา 1 ลิปดาตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทราจัดไว้ในเขต ภาคตะวันออก หรืออยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง) ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถไฟสายตะวันออก ประมาณ 61 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 304 ประมาณ 75 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 3 ประมาณ 100 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 34 แยกเข้าทางสายหมายเลข 314 ประมาณ 90 กิโลเมตร

 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรีและนครนายก
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพฯ