Search for:
องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้แต่ง : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

พิมพ์ครั้งที่ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : 2556

บรรณลักษณ์ : 153 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.

สาระสังเขป  : อาเซียน (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) มีชื่อเต็มว่า สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดจากความร่วมมือจาก 15 ประเทศ โดยในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กฎบัตรอาเซียนได้เริ่มมีผลบังคับใช้ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยได้เขาดํารงตําแหน่ง ประธานอาเซียนที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอํา อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ว่าด้วยแผนงานสําหรับการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2) ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน 3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยอาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคม เดียวกันให้สําเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 หรือในปี ค.ศ. 2015 ดังนั้น ศูนยแศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและ วัฒนธรรมของ 10 ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนว่ามีความจําเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รวบรวมองคแความรู้ทาง วัฒนธรรมของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเมืองหลวง ดอกไม้ประจําชาติ ศิลปวัฒนธรรมประจําชาติ การแต่งกายประจําชาติ อาหารประจําชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญและนาฏศิลปะ ของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นประโยชนแแก่นักเรียน นักศึกษาและ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อนําไปสู่การเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนภายใต้คําขวัญ “หนึ่งวิสัยทัศนแ หนึ่งเอกลักษณแ หนึ่งประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community) ศูนยศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น 22 เมษายน 2556

การละเล่นของเด็กไทย

ชื่อเรื่อง : การละเล่นของเด็กไทย

ผู้แต่ง : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น
สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

พิมพ์ครั้งที่ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท,

บรรณลักษณ์ : 32 หน้า : ภาพประกอบ ; 25 ซม.

สาระสังเขป : การละเล่นของเด็กไทย เป็นการละเล่นพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยแบบเรียบง่าย ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน แต่ละท้องถิ่น สืบทอดต่อๆกันมา จากคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งสืบทอดต่อกันมา ซึ่งนับวันก็จะเสียหายไปกับการเวลา ในปัจจุบันก็ยังมีการละเล่นอยู่บ้างในโอกาสต่างๆ

100 ปีอำเภอบ้านโพธิ์

ผู้แต่ง : สุพจน์ สุกปลั่ง

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท,2547

บรรณลักษณ์ : 76 หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.

สาระสังเขป : 100 อำภอบ้านโพธิ์ ที่ระลึกพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอบ้านโพธิ์ และแลอง100ปี อำเภอบ้านโพธิ์ 15 มกราคม 2547

สถานที่สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดฉะเชิงเทรา

เรื่อง : สถานที่สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดฉะเชิงเทรา ฉบับ 3 ภาษา(ไทย – อังกฤษ – จีน)

ผู้แต่ง : โดย ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

พิมพ์ครั้งที่ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท,2560

บรรณลักษณ์ : 91 หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.

สาระสังเขป : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ทรงเป็น “ราชันแห่งราชา”  ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 70 ปี ทรงย่างพระบาทไปทุกภูมิภาคทั่วแผ่นดินด้วยความรักประชาชนของพระองค์โดยแท้ เป็นที่ประทับตราตรึงอยุ่ในหัวใจคนไทยมิรู้ลืมพสกนิการจังหวัดฉะเชิงเทรามีโอกาสได้รับเสด็จพระราชดำเนินหลายครั้ง รอยพระบาทที่ยาตราจะจารึกอยุ่ในความทรงจำตลอดไป

กระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้เรื่องตะไคร์ ของประชาชน ตำบลคลองเขื่อน

ผู้วิจัย  :  นายจินดา  เนื่องจำนงค์, ดร.เทพนคร   ทาคง, น.ส.อารียา  บุญทวี, นายชูชาติ  นาโพตอง, นายกิจจา   สิงห์ยศ, นางอรวรรณ  แสงอรุณ, น.ส.นวลลออ   อนุสิทธิ์

สถาบันหน่วยงาน : ศูนย์ศิลปะ  วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏฉะเชิงเทรา

ปี : 2550

จำนวนหน้า : 70 หน้า

บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มี /วัตถุประสงค์

๑. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางพัฒนาการแปรรูปตะไคร้
๒. เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้เรื่องตะไคร้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชากรหมู่ ๒,๓ และหมู่ ๔ ต.คลองเขื่อน กิ่งอ.คลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทราโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมในชุมชน

ถนนสายวัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ชื่อเรื่อง : ถนนสายวัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง : โดย ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
สำนักงานฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา

พิมพ์ครั้งที่ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท,

บรรณลักษณ์ : 31 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.

สาระสังเขป : ตามที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จัดโครงการถนนสายวัฒนธรรม ณ บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทราโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมมาช่วยสร้างคุณค่าทางสังคม และช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เริ่มต้นจากวัดโสธรวรารามวรวิหาร ถนนศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ไปตามถนนเส้นมรุพงษ์ต่อเนื่อง ไปยังถนนพานิช และสิ้นสุดที่วัดจีนประชาสโมสร ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ รวมสถานที่สำคัญทั่งสิ้น 14 แห่ง

เอกสารองค์ความรู้ วัฒนธรรมและความเชื่อใน”ขนมไทย”Culture and Belief of “Desseris”

ผู้แต่ง : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น

เลขเรียกหนังสือ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท,

บรรณลักษณ์ : 36 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.

สาระสังเขป : ขนมไทยเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนไทย ซึ่งสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และได้รับการยอมรับว่าเป็นสัญญาลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่ง แน่นอนว่าชื่ออันเป็นมงคลและเปี่ยมไปด้วยความหมายของขนมแต่ละชนิดได้มีการไปเชื่อมโยงกับพลังอำนาจเหนือธรรมชาติซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต จากความเชื่อนี้เองที่ทำให้ขนมไทยแต่ละชนิดมีบทบาทในการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป จากเหตุผลนี้เองที่ทำให้กล่าวไว้ว่า ขนมไทยมีอิทธิพล ต่อการกำหนดความเชื่อและพฤติกรรมของคนในสังคมไทยในหลายยุคหลายสมัย

 อู่เรือจิ๋ว

ชื่อเรื่อง :  อู่เรือจิ๋ว

ผู้แต่ง : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น

บรรณลักษณ์ : 57 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.

รายงานการจัยกระบวนการการสืบสานประเพณีแห่งธงตะขาบของเทศบาลตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้วิจัย :

  1. จินดา  เนื่องจำนงค์  ที่ปรึกษา
  2. อารียา  บุญทวี  ที่ปรึกษา
  3. ณัฐปนนท์  สิงห์ยศ  ที่ปรึกษา
  4. สุรพล  โต๊ะสีดา  ผู้วิจัย

สถาบัน/หน่วยงาน : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ปี : 2555

จำนวนหน้า : 124 หน้า

บทคัดย่อ : วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษากระบวนการสืบสานประเพณีแห่ธงตะขาบ รวมทั้งศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีแห่งธงตะขาบ ของเทศบาลตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

รายงานการวิจัย เรื่อง ความเชื่อของประชาชนต่องานประเพณีปิดทองพระพุทธชินราชของวัดทางข้ามน้อย ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้วิจัย : นางสาวอารียา บุญทวี
สถาบัน / หน่วยงาน : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  ปี : 2556

จำนวนหน้า : 58  หน้า

บทคัดย่อ : งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาความเชื่อของประชาชนที่มีต่อประเพณีปิดทองหลวงพ่อพระพุทธชินราชวัดทางข้ามน้อย
  2. เพื่อสืบสานประเพณีปิดทองหลวงพ่อพระพุทธชินราชวัดทางข้ามน้อย