Search for:
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มสตรีตัดเย็บบ้านนายาว อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา = Value creation of Loincloth products to creative economy of women sewing group at Nayao villege, Sanam Chai Khet district, Chachoengsao province(ไม่มีไฟล์เอกสาร)

โดย: อารียา บุญทวี

ผู้แต่งร่วม: จินดา เนื่องจำนงค์, [ผู้วิจัย]

เลขเรียกหนังสือ: 391.4 อ663ร 2564

ข้อมูลการพิมพ์: ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2564

รายละเอียดตัวเล่ม: ก-ฌ, 62 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง, แผนภูมิ ; 29 ซม.

บทคัดย่อ : –

แผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2569

ผู้แต่งร่วม : สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา. สภาเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. ส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร

เลขเรียกหนังสือ : 630.20112 ผ931 2564

ข้อมูลการพิมพ์ : ฉะเชิงเทรา : ม.ป.พ. 2564

รายละเอียดตัวเล่ม : 137 แผ่น : ภาพประกอบสี, ตารางล แผนภูมิ, แผนผัง ; 29 ซม.

สาระสังเขป : กรอบยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – พ.ศ.2580) ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 (พ.ศ.2560 – พ.ศ.2564)ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553 กำหนดให้สภาเกษตรแห่งชาติจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม โดยเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย รวมทั้งเชื่อมโยงกับแผนแม่บทระดับจังหวัด

รายงานการวิจัยประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร

โดย: วชิรพงศ์ มณีนันทิวัฒน์.

เลขเรียกหนังสือ: 390.9593 | ว152ร

ข้อมูลการพิมพ์: ฉะเชิงเทรา : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2563

รายละเอียดตัวเล่ม: 59 แผ่น : ภาพประกอบสี ; 29 ซม.ชื่อเรื่องอื่น: ประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร.

 บทคัดย่อ : วิจัยเรื่อง ประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร มีสัตถประสงค์ 1. เพื่อศึกษา เพื่อความเชื่อ การบนบานของประชาชนที่ส่งผลให้เกิดประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร 2. เพื่อศึกษาประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร 3. เพื่อศึกษากระบวนการสืบสาน สืบทอด ประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้แก่พระสงฆ์ ปราชญ์ท้องถิ่น สภาวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีหลวงพ่อโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสาร งานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของประเพณี และกระบวนการจัดงาน รวมทั้งการเข้าร่วมประเพณีเพื่อการมีส่วนร่วม

รายงานการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์กระบวนการสร้างสรรค์การประดิษฐ์เข็มกลัดติดเสื้อดอกสารภีที่เป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

โดย : ณัฐปนนท์ สิงห์ยศ

ผู้แต่งร่วม: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น.

เลขเรียกหนังสือ: 745.5943  ณ336ร

ข้อมูลการพิมพ์: ฉะเชิงเทรา : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2563

รายละเอียดตัวเล่ม: ก-ฉ, 60 แผ่น : ภาพประกอบสี, ตาราง ; 29 ซม.

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของตำบลเทพราช อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผู้วิจัย :  อารียา  บุญทวี

สถาบัน/หน่วยงาน : งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุน จากโครงการวิจัยขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ คณะมนุษศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2556

ปี  : 2556

จำนวนหน้า : 163 หน้า

บทคัดย่อ :งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาความต้องการในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเทพราช ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา  กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดเทพราช 2

การวิจัยและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยงริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงบริเวณโบราณสถานที่ อาคารไม้สักทอง ค่ายทหารศรีโสธร และตลาดบ้านใหม่ (ตลาดริมน้ำเดิม)ให้มีระบบบริหารจัดการคุณภาพการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

ผู้วิจัย :  คนึงนิตย์  ชื่นค้า และคณะ

สถาบัน/หน่วยงาน :  งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนันสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.)

ปี  : 2548

จำนวนหน้า : 266 หน้า

บทคัดย่อ : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เชิงวิจัย 6 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในเขตพื้นที่ตลาดบ้านใหม่ค่ายศรีโสธร โดยประยุกต์ใช้ระบบCECS เพื่อการศึกษาระดับกว้าง ประการที่สอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถระดับบุคลากรระดับท้องถิ่นให้มีความสามารถในการบริหารจัดการคุณภาพการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ประการที่สาม เพื่อวางแผนหากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการบริหารคุณภาพการท่องเที่ยงแบบยั่งยืน ประการที่สี่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตะหนักและการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ในตลาดบ้านใหม่และค่ายศรีโสธร ประการที่ห้า เพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกกลุ่มเยาวชนให้มีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น และประการที่หก เพื่อ ประเมินผลการบริหารจัดการคุณภาพการท่องเที่ยวแบยั่งยืนของตลาดบ้านใหม่และค่ายศรีโสธร

การวิจัย การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำขนมจากจังหวัดฉะเชิงเทรา

หัวเรื่อง : โครงการวิจัย การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำขนมจากจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้วิจัย :  ดร.พรัชรา  ทิพยมหิงค์

สถาบัน/หน่วยงาน :  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

ปี  : 2548

จำนวนหน้า : 81 หน้า

บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำขนมจากจังหวัดฉะเชิงเทรา  ด้านการสืบทอดการทำขนมจากเริ่มจาการรับประทานภายในครอบครัว เป็นการสืบทอดระบบครอบครัวจากรุ่นพ่อแม่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ไม่มีการจดบันทึกสูตรขั้นตอนการทำขนมจากไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีเล่าสู่กันและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และฝึกหัดทำด้วยตนเอง วิจัยครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหาแนะทางในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำขนมจาก รวมทั้งการนำเสนอการจัดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านสื่อที่สามาถเชื่อมโยงความรู้ผ่านเครือข่ายให้กับชุมชน และดำรงอยู่เป็นแนวทางสืบทอดต่อกันมาให้ดียิ่งขึ้น

การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมผลผลิตจากตาลโตนด : กรณีศึกษา ชุมชนตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้วิจัย :  นางสาวลักษณาพร โรจน์พิทักษ์กุล

สถาบัน/หน่วยงาน :  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

ปี  : 2550

จำนวนหน้า : 259 หน้า

บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมผลผลิตนำ้ตาลจากตาลโตนด เพื่อการส่งเสริมและสืบทอดวัฒนะรรมภูมิปัญญาการประกอบอาชีพผลิตน้ำตาลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีถิ่นฐานอยู่ใน5หมู่บ้านของตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

วิจัย : การศึกษาและวิเคราะห์ละครชาตรีเมืองแปดริ้ว/ผู้วิจัย :  นิสา เมลานนท์

ผู้วิจัย :  นิสา เมลานนท์

สถาบัน/หน่วยงาน : ภาควิชานาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

ปี  : –

จำนวนหน้า : 62 หน้า

บทคัดย่อ :  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบค้น วิเคราะห์และรายงานศิลปะพื้นบ้าน ของจังหวัดฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) ไว้มิให้สูญหาย และคงอยู่คู่บ้านเมืองไปตราบนานเท่านาน โดยเฉพาะละครชาตรเมืองแปดริ้ว ซึ่งนับวันจะเลือนไปจากความทรงจำ เรียกได้ว่าการแสดงรูปแบบดั้งเดิมนั้นได้สูญหายไปแล้ว เพราะขาดผู้อนุรักษ์รักษา ศิลปินละครชาตรีรุ่นเก่าเหลืออยู่น้อยมาก จึงมีความประสงค์จะศึกษา และวิเคราะห์ละครชาตรีเมืองแปดริ้ว ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน