Search for:
ฉบับอำเภอราชสาส์น

ผู้แต่ง : ผ.ศ.ประเสริฐ ศีลรัตนา, อ.จินดา  เนื่องจำนงค์

เลขเรียกหนังสือ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท, 2556

บรรณลักษณ์ : 39 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.

สาระสังเขป : อำเภอราชสาส์นเดิมเป็นพื้นที่เขตปกครองของอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกำหนดให้ตำบลบางคา ตำบลดงน้อง และตำบลเมืองใหม่ แยกการปกครองจากอำเภอพนมสารคาม และได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์นตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลนาคาในที่ดินนายอั๋น มันทสูตร์ยกให้แก่ทางราชการจำนวน 25 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวาได้รับการยกย่องเป็นอำเภอราชสาส์นตามราชกิจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 21 หน้า 32 – 33 วันที่ 3 มิถุนายน 2537

ฉบับอำเภอเมือง

ชื่อเรื่อง : แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา : ฉบับอำเภอเมือง

ผู้แต่ง :ประเสริฐ ศีลรัตนา จินดา เนื่องจำนงค์

เลขเรียกหนังสือ :

พิมพ์ครั้งที่ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท, 2547

บรรณลักษณ์ : 108 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.

สาระสังเขป : เมืองฉะเชิงเทราในอดีต นับตั้งแต่เริ่มตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชะานีหรือก่อนหน้านี้หากจะสืบหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง โดยอาศัยหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อัษร หรือหลักฐานทางด้านโบราณคดีนั่นนับเป็นสิ่งที่หายาก จะมีก็แตหลักฐานที่เป็นคำบอกเล่า กล่าวขานสืบต่อกันมาเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ปรากฏการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัตถุและสถานที่ ล้วนไม่สามารถจะยืนยัน ได้แน่ชัดลงไปว่าจริงหรือเท็จประการใด จึงทำให้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับฉะเชิงเทรา ทั้งที่เป็นประวัติความเป็นมาของเมือง สถานที่ วัตถุ ฯลฯ ในช่วงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ส่วนใหญ่ยังอยุ่ในลักษณะคลุมเครือ

ฉบับอำเภอบางปะกง

ผู้แต่ง :วชิรพงษ์  มณีนันทิวัฒน์ ,สุนทรีย์ ธรรมสุวรรณ,ธีระวุฒิ  กลิ่นด้วง, นวงลออ อนุสิทธิ์, ณัฐปนนท์ สิงห์ยศ, ฐิติรัตน์ เอนกสุวรรณกุล, สุรพล โต๊ะสีดา, อรวรรณ  เล็กชะอุ่ม

เลขเรียกหนังสือ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท, 2558

บรรณลักษณ์ : 108 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.

สาระสังเขป : อำเภอบางปะกงมีลักษณะภูมิประเทศ ที่เป็นราบลุ่มแม่น้ำสูงกว่าระดับน้ำทะเลเล็กน้อย พื้นที่บางส่วนอยุ่ติดทะเล เป็นป่าชายเลน ทำให้แม่น้ำบางปะกงมีสภาพ น้ำจืดน้ำเค็มสลับกันประมาณ 6 เดือน ก่อให้เกิดรูปแบบวิถีการหล่อเลี้ยงชีวิต วัฒนธรรมเฉพาะลุ่มน้ำบางปะกง มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธ์ ศิลป วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ควรค่าศึกษาและอนุรักษ์ไว้ศึกษาต่อไป

ฉบับอำเภอคลองเขื่อน

ผู้แต่ง : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น

เลขเรียกหนังสือ :

พิมพ์ลักษณ์ : ฉะเชิงเทรา : ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2556

บรรณลักษณ์ : 63 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 29 ซม.

สาระสังเขป : อำเภอคลองเขื่อน เดิมเป็นพื้นที่การปกครองส่วนหรึ่งของอำเภอบางคล้า ต่อมาทางการมีความเห็นว่า อำเภอบางคล้ามีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองจำนวนมาก มีท้องที่หลายตำบล ซึ่งอยุ่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกงและอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางคล้าึ่งตั้งอยุ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง และในขณะนั่นยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง จึงทำให้ราษฏรได้รับความยากลำบากในการเดินทางไปติดต่อราชการ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคลองเขื่อน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะ”กิ่งอำเภอคลองเขื่อน” เป็น “อำเภอคลองเขื่อน” ตามโครงการอำเภอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งอำเภอคลองเขื่อนมีโบราณสถาน โบราวัตถุที่สำคัญมากมาย

ตราสัญญาลักษณประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

“ภาพโบสถ์”

หมายถึง ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมือง ตำนานเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปปาฏิหาริย์ ลอบทวนน้ำมาขึ้นที่จังหวัด ชาวเมืองเคารพนับถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้อักษรย่อว่า “ฉช”

คำขวัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา

“แม่น้ำบางประกงแหล่งชีวิต                 พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร

   พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย       อ่างฤาไนป่าสมบูรณ์”

ประวัติจังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือที่นิยมเรียกกันว่า “แปดริ้ว” นั้นมาจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมืองนี้เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ ในน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อน ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดมีชุกชุมและขนาดใหญ่เมื่อนำมาแล่เพื่อตากทำปลาแห้ง ต้องแล่ออกถึงแปดริ้ว เมืองนี้จึงเรียกว่า “แปดริ้ว” ตามขนาดของปลาช่อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมือง สำหรับชื่อ “ฉะเชิงเทรา” ในปัจจุบันเป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจเรียกชื่อแม่น้ำบางประกงว่า คลองลึก หรือ คลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น แต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงเรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า “สตึงเตรง” “ฉทึงเทรา” ซึ่งแปลว่าคลองลึก ครั้นเรียกกันนานๆ ต่อมาเสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น”ฉะเชิงเทรา” หรือ “แซงเซา”

ข้อสันนิษฐานการตั้งเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน หรือ เมืองจัตวา ในแผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – 2013) แต่สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยพระนเรศวร ที่ใช้เมืองฉะเชิงเทรา เป็นที่รวบรวมไพร่พล ด้วยชัยภูมิของเมืองที่เหมาะแก่การทำสงครามกองโจร ทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าป้องกันศัตรูเพื่อป้องกันเมืองหลวง จวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแผ่นดินใหม่ ฉะเชิงเทรา จึงมีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี จากนั้นในปี พ.ศ.2476 มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง สู่ 3 มิภาค จึงได้เปลี่ยนจากเมืองมาเป็นจังหวัด เรียกว่า จังหวัด “ฉะเชิงเทรา”

(อ้างอิง: คู่มือท่องเที่ยว ฉะเชิงเเทรา น. 6)

สภาพทางภูมิศาสตร์

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 5,370.28 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,344,375 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา ลิปดา ถึง 13 องศา 15 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 50 ลิปดา 102 องศา 1 ลิปดาตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทราจัดไว้ในเขต ภาคตะวันออก หรืออยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง) ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถไฟสายตะวันออก ประมาณ 61 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 304 ประมาณ 75 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 3 ประมาณ 100 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 34 แยกเข้าทางสายหมายเลข 314 ประมาณ 90 กิโลเมตร

 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรีและนครนายก
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพฯ